บันทึกการอ่านครั้งที่ ๓๔
วันเสาร์ ที่๓ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑
พูดคำว่า ขอโทษ ให้เป็น
ครั้งหนึ่งมีคนเคยสัมภาษณ์ หลินจื้ออีง นักร้องยอดนิยมเกี่ยวกับ ทัศนะและความประทับใจที่เขามีต่อ สุดยอดซุปเปอร์สตาร์ทั้งสี่ และ กัวฟู่เฉินนักร้องดังของของฮ่องกง หลินจื้ออิงเจตนาตอบสัมภาษณ์ให้ตลกว่า “สี่ซุปเปอร์สตาร์เหรอ ผมไม่รู้จัก ส่วนกัวฟู่เฉิน เขาเป็นพ่อผมเองละมั้ง “ คำพูดพอหลุดจากปาก ทุกคนที่อยู่ในที่นั้น ต่างพากันตำหนิว่าเขาไม่รู้จักพูดจา ไม่รู้การควรไม่ควร ต่อมาภายหลัง เพื่อที่จะแก้ไขความผิดพลาดที่ได้ทำลงไป แล้วก็กู้ภาพพจน์ที่ดีของตัวเองขึ้นมาใหม่ เมื่อมีนักข่าวมาขอสัมภาษณ์ เขาบอกอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาว่า “ ผมรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งพูดคำพูดเหล่านั้นออกไป ผมยินดีที่จะขอขมากัวฟู่เฉินต่อหน้าสาธารณะ” เมื่อคำพูดเหล่านั้นได้รับคำตีพิมพ์ออกไป คำวิพากษ์วิจารณ์อันเกิดจาก “ คำให้สัมภาษณ์ “ ในครั้งก่อนจึงสงบลง นั้นแสดงให้เห็นว่า เมื่อเผลอพลั้งพูดอะไรที่ผิดไป การออกมาขอโทษอย่างเปิดเผยบางครั้งก็ได้ผลดีกว่าการหาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อนหรือทำเป็นเงียบเฉย
ส่วนใหญ่คนเรา เมื่อทำผิดอะไรไปก็จะรู้สึกอัปยศอดสู อับอายอยู่พักหนึ่ง จากนั้นก็อาจกล่าวคำขอโทษออกมาเบาๆแล้วหลบหนีหน้าไป แต่หลายๆสถานการณ์ เพียงอาศัย คำว่า “ขอโทษ” อย่างเดียวนั้นเพียงพอที่จะทำให้ได้รับความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ การที่เราพั้งปากพูด เป็นสื่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อพูดผิดไปแล้ว มารู้สึกเสียใจภายหลังหาใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญ คือ เราจะทำอย่างไรให้ผลเสียอันเกิดจากการพูดผิดไปนั้นลดลงใหเหลือน้อยที่สุด
ที่มา : นิภาพร เยี่ยมวัฒนา.พูดคำว่า ขอโทษ ให้เป็น.กรุงเทพฯ : คุณธรรม,๒๕๕๙
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น